เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับต้นๆ ไปทั่วโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็คือ “ชาเขียว” โดยเฉพาะในประเทศไทยเรา ที่ชาเขียวถูกนำมาผสมกับวัตถุดิบต่างๆ อาทิ นม ไข่มุก เผือก โกโก้ หรืออื่นๆ จนทำให้เกิดชาที่มีสีสันหลากหลาย อย่างไรก็ตาม บางครั้งชาเขียวปกติก็ไม่ได้มีสีเขียวเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังมีชื่อเรียกที่ต่างกัน แม้จะทำมาจากใบชาเหมือนกัน

Aroma จึงขอมาไขข้อสงสัยที่ว่า “ทำไมบางครั้งชาเขียวถึงไม่เป็นสีเขียว?” ให้ทุกท่านได้เข้าใจ และทราบถึงที่มาที่ไปของชาที่ไม่ใช่สีเขียวกัน

“สีเขียว” ของน้ำชา 

ก่อนจะพูดถึงชาบางชนิดที่ไม่ได้เป็นสีเขียว มาดูกันก่อนว่าสีเขียวของชานั้นมีสาเหตุมาจากที่ใด หลายท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าในใบไม้นั้นจะมีสารที่เรียกว่า “คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)” ซึ่งเป็นสารประกอบของพืช มีหน้าที่ในการสังเคราะห์แสงจากดวงอาทิตย์และสร้างสารอินทรีย์เพื่อหล่อเลี้ยงพืช ซึ่งสาเหตุที่ใบชามีสีเขียว ก็เพราะว่าสารคลอโรฟิลล์สามารถดูดกลืนแสงได้ดีที่ช่วงคลื่นของแสงสีฟ้าและสีแดง แต่ดูดกลืนช่วงคลื่นแสงสีเหลืองและเขียวได้น้อย ใบชาจึงเป็นสีเขียวนั่นเอง 

น้ำที่ชงมาจากใบชาเขียวนั้น จึงมีสารคลอโรฟิลล์ที่ส่งผลให้เกิดสีเขียวขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามสีเขียวของน้ำชานั้นก็มีหลากหลาย บ้างก็เป็นโทนสีอ่อน บ้างก็มีโทนสีที่เข้มกว่า 

ชาเขียวที่มีโทนสีต่างกัน เป็นเพราะอะไร?

มาถึงส่วนที่หลายๆ คนสงสัยว่าทำไมชาเขียวถึงได้มีสีที่แตกต่างกันไป สำหรับผู้ที่ไม่ศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับเครื่งดื่มชนิดนี้ อาจจะไม่ทราบ เพราะชาเขียวโดยเฉพาะในญี่ปุ่นนั้นมีหลากหลายชนิดมาก ซึ่งโทนที่อ่อนหรือเข้มกว่านั้นเป็นผลมาจากกรรมวิธีการเก็บเกี่ยวและแปรรูปใบชาก่อนชง ยกตัวอย่างเช่น

ชาเคียวคุโระ (Kyokuro)

เป็นชาเขียวญี่ปุ่นที่มีสีเขียวอ่อนและได้ชื่อว่าเป็นชาราคาแพงที่สุดในญี่ปุ่นอีกด้วย ซึ่งจะมีวิธีการผลิต โดยต้นชาจะถูกคลุมด้วยเสื่อฟางในช่วงสัปดาห์ท้ายๆ ก่อนการเก็บเกี่ยว และใช้น้ำร้อนในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าและเวลาชงจะแช่น้ำนานกว่าชาทั่วไป เป็นชาที่มีรสหวาน ซึ่งชื่อเคียวคุโระ นั้นหมายถึง “น้ำค้างหยก” ที่สื่อถึงสีเขียวอ่อนของชาชนิดนี้นี่เอง

ชาเกนไมฉะ (Genmaicha) 

ชาเกนไมฉะนั้นอาจไม่เหมือนกับชาปกติที่หลายท่านมักนึกถึง เนื่องจากมีวิธีการผลิตที่แตกต่างออกไป คือใบชานั้นจะถูกนำไปคั่วกับข้าวกล้อง ส่งผลให้น้ำชานั้นมีสีเหลืองอ่อนมีรสคล้ายถั่ว แถมดื่มได้ง่ายอีกด้วย ซึ่งเกนไมฉะนั้นมีแป้งจากข้าวที่ช่วยปรับสภาพกระเพาะอาหารให้มีความอุ่น จึงนิยมดื่มกัน 

ชาโฮจิฉะ (Hojicha) 

ชาเขียวโฮจิฉะถูกนำไปคั่วหลังเก็บเกี่ยว ทำใบชาสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง น้ำชาที่ได้จึงมีสีเดียวกัน มีกลิ่นหอมจากการคั่วที่ชัดเจน แถมยังมีคาเฟอีนต่ำกว่าชาชนิดอื่น ชาวญี่ปุ่นจึงนิยมดื่มในช่วงตอนเย็น เพื่อช่วยให้นอนหลับได้สบายมากขึ้น

ชามัทฉะ (Matcha)

หลายคนอาจเคยได้ลองดื่มชามัทฉะที่เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา คงทราบกันจว่าเป็นใบชาบดละเอียด มีสีเขียวขุ่น รสชาติหวานเข้มข้น ประโยชน์ชาเขียวมัทฉะคือช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อีกทั้งชาชนิดนี้สามารถละลายน้ำได้จึงถูกนำไปใช้ทำนม ไอศกรีม เค้ก หรือของหวานชนิดอื่นๆ จนได้รับความนิยมจากหลากหลายประเทศในปัจจุบัน 

นอกจากชาเขียวที่มีโทนสีที่แตกต่างกันตามชนิดแล้ว ยังมีชาจีน ชาดำ ชาอู่หลง หรือชาแม้กระทั่งขาว ที่มีสีและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ส่วนการเลือกดื่มชานั้นก็ขึ้นอยู่ความชอบของแต่ละคน หากชื่นชอบชาที่มีรสชาติเข้มข้นอาจเลือกเป็นชาดำหรือชาอู่หลง ส่วนหากท่านใดต้องการผ่อนคลายก็ขอแนะนำให้ดื่มชาเขียวมัทฉะหรือโฮจิฉะ

อย่างไรก็ตาม ชาเขียวที่ควรดื่มก็ต้องเป็นชาเขียวที่ได้คุณภาพ ผ่านการคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน อย่างชาอย่าง Aroma ที่มีให้เลือกมากมาย อาทิ MATCHA GREEN TEA BASE, HŌJICHA GREEN TEA, KYOTO MATCHA GREEN TEA และยังมีชา Basilur คุณภาพเยี่ยมจากประเทศศรีลังกา

ค้นหาชาคุณภาพเยี่ยมจาก AROMA

WE ARE AROMA

Aroma Group คือผู้นำธุรกิจกาแฟคั่วบด และเครื่องดื่มแบบครบวงจร ที่มีความเชี่ยวชาญ และสั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนานกว่า 60 ปี ธุรกิจของเราครอบคลุมตลอดต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่การคัดสรรและจัดจำหน่ายวัตถุดิบชั้นดี การจำหน่ายเครื่องชงกาแฟ และอุปกรณ์คุณภาพสูง สถาบันสอนพัฒนาธุรกิจร้านกาแฟ รวมถึงธุรกิจร้านกาแฟ จวบจนวันนี้ Aroma Group ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามากมายทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมชั้นนำ ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และร้านเบเกอรี่ ทั้งจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของ Aroma กว่า 2,000 ราย ร้านค้าปลีกกว่า 7,000 ร้านค้า และ Aroma Shop กว่า 30 ร้าน พร้อมเสียงตอบรับที่มากขึ้นทุกวัน