ในปัจจุบัน รสนิยมการดื่มกาแฟของเหล่านักดื่มไทยถูกยกระดับขึ้นมาเรื่อย ๆ ทั้งใส่ใจและจริงจังมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ซื้อ-ดื่ม-จ่าย แล้วจบ แต่เหล่าคอกาแฟตัวยงยังสนใจหยั่งลึกไปถึงศาสตร์และศิลป์ที่ถ่ายทอดออกมาจากกรรมวิธีที่แตกต่าง โดยเฉพาะศาสตร์การชงแบบช้า ๆ ที่หลายคนมักเรียกติดปากว่าแนว Slow Bar วิถีที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของการสกัดกาแฟแบบดั้งเดิม ทำให้ร้านกาแฟสมัยใหม่มักออกแบบมาพร้อมแนวสโลว์บาร์มากยิ่งขึ้น เพื่อตอบโจทย์ต่อเหล่านักดื่มที่ชอบสไตล์พิถีพิถันอันทรงเสน่ห์

กาแฟ Slow Bar คืออะไร

กาแฟแนว Slow Bar เป็นวิถีการชงกาแฟที่เน้นรูปแบบพิถีพิถันในฉบับที่แตกต่างกันออกไป หัวใจหลักก็สมชื่อ Slow Bar คือการชงแบบช้า ๆ แต่ว่าเต็มไปด้วยเสน่ห์และความคลาสสิก หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่า วิถี Slow Bar จะเน้นให้บาริสต้ามาชงกับมือให้เราดื่มกันแบบแก้วต่อแก้ว โดยไม่พึ่งเครื่องชงเอสเปรสโซ่ โดยวิธีการสกัดกาแฟที่นิยมมากในหมู่ Slow bar มักเป็นการดริปกาแฟ หรือ ชงด้วย Portable Maker วิธีเหล่านี้จึงเต็มไปด้วยศิลปะการชงแบบเน้น ๆ ชงให้เห็นกันต่อหน้าจากบาริสต้ามือฉมังที่มีความรู้อยู่แล้ว คล้ายกับโชว์แสดงศิลปะการสกัดกาแฟกลาย ๆ ทำให้นักดื่มได้บรรยากาศ ได้เข้าถึงขบวนการทำจนกระทั่งลิ้มรสชาติ ที่สำคัญ ฝั่งบาริสต้ายังได้พื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนโดยตรงกับคอกาแฟ เกิดเป็นคอมมูนิตี้เล็ก ๆ ของคนรักกาแฟเหมือนกัน ทั้งอบอุ่น น่ารักและให้บรรยากาศที่พิเศษกว่าร้านกาแฟรูปแบบเดิม ๆ

แม้ปัจจุบัน การชงกาแฟแบบ Slow Bar จะเข้ามามีอิทธิพลต่อกลุ่มคอกาแฟตัวยง ไม่ว่าจะชงดื่มเองที่บ้านหรือออกไปดื่มตามคาเฟ่ แต่การชงกาแฟแบบรวดเร็วทั่วไป ที่เรียกว่าแนว Speed Bar ก็ยังคงเป็นที่ต้องการในหมู่นักดื่มกาแฟเสมอ ฉะนั้น ร้านกาแฟ Specialty บางร้านจะมีทั้งแบบชงช้าและไวปกติ พร้อมแบ่งโซนชัดเจน ทำให้คอฟฟี่เลิฟเวอร์ไม่จำเป็นต้องเลือกไปที่ไหน เพราะสามารถตอบโจทย์ได้ในร้านเดียว!

Slow Bar กับ Speed Bar แตกต่างกันอย่างไร

Slow Bar กับ Speed Bar แตกต่างกันอย่างไร

มิติการชงกาแฟช้า-เร็วเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แต่ก็เข้าใจได้ไม่ยาก “Slow Bar” เป็นวิถีการชงเครื่องดื่มช้า ๆ ที่ต้องใช้เวลาอย่างพิถีพิถัน มักชงด้วยมือจากบาริสต้า ผ่านเครื่องชงในกลุ่ม Portable Maker / Hand Maker เช่น กาแฟดริป ไซฟ่อน หรือ มอคค่าพอท มักใช้เวลาร่วม 5 นาทีเป็นอย่างต่ำ บางกระบวนการสามารถกินเวลาถึง 20 นาทีหรือข้ามวัน ด้วยความประณีตตั้งแต่เลือกวัตถุดิบ บดเมล็ด จนถึงวิธีการชงเฉพาะ เมนูกาแฟที่ได้ส่วนใหญ่มักเป็น กาแฟดำ (Black Coffee) กาแฟสกัดเย็น (Cold Brew) หรือ เอสเปรสโซ่ (Espresso) ขณะที่ “Speed Bar” เป็นวิถีการชงกาแฟที่สามารถพบได้ตามร้านกาแฟทั่วไป เน้นรวดเร็วฉับไว มักมาในคอนเซ็ปต์ ซื้อ-ดื่ม-จ่าย แล้วจบ วิธีนี้จะผ่านการชงด้วยเครื่องเอสเปรสโซ่ที่สามารถสกัดเอสเปรสโซ่ช็อตได้ในเวลาเพียง 25 – 30 วินาที เครื่องดื่มที่ชงผ่านแนว Speed Bar มักใช้เวลาเพียง 5 นาทีต่อแก้วเท่านั้น เมนูที่ได้จากคาเฟ่แนว Speed Bar ก็มักเป็นเมนูบนท้องตลาดทั่วไป เช่น อเมริกาโน่ เอสเปรสโซ่ คาปูชิโน่ ลาเต้ และอื่น ๆ เรียกว่าเป็นเมนูพื้นฐานที่คอกาแฟต่างรู้จักเป็นอย่างดี

ทั้ง 2 รูปแบบจึงต่างให้สไตล์การชงและดื่มที่ต่างมิติกันออกไป จดจำได้ง่าย ๆ ว่า Slow Bar = ชงช้า ใช้เวลาและพิถีพิถัน ส่วน Speed Bar = พบได้ตามร้านกาแฟทั่วไป ชงไว เมนูเบสิก

6 ประเภทการชงกาแฟแนว Slow Bar

6 ประเภทการชงกาแฟแนว Slow Bar

การชงกาแฟแนว Slow Bar ตามคอนเซ็ปต์ “ชงช้า ๆ แต่มีเสน่ห์” สามารถมีได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าจะชงกาแฟด้วยเครื่องชงแบบไหน ซึ่งส่วนมาก มักเป็นการชงด้วยมือแทบทุกขั้นตอน ตั้งแต่บดเมล็ด เตรียมอุปกรณ์ ตลอดจนการชงก็ยังต้องอาศัยมือบาริสต้าเป็นองค์ประกอบหลักเพื่อสกัดกาแฟเสมอ ประกอบไปด้วย 6 ประเภท ดังนี้

French Press

การชงด้วยเครื่อง French Press เป็นการชงโดยใช้หลักการแช่ (Immersion) ด้วยน้ำร้อน มักใช้เวลาแช่กาแฟประมาณ 3 – 4 นาที ก่อนใช้แรงกดอากาศด้วยก้านสูบกดมือเพื่อสกัดเอากาแฟที่เข้มข้นที่สุด วิธีนี้อาจทิ้งกากกาแฟเอาไว้เล็กน้อย

Aeropress

การชงด้วย Aeropress จะใช้หลักการแบบแช่ (Immersion) ด้วยน้ำร้อน คล้ายกับแบบ French Press มักใช้เวลาประมาณ 3 นาที ตามด้วยการกดกระบอกสูบด้วยมือเพื่อให้เกิดแรงดันอากาศสกัดเอากาแฟในขั้นตอนสุดท้าย

Moka Pot

การชงกาแฟด้วยหม้อ Moka จะเป็นการชงด้วยหลักการแรงดันไอน้ำ คล้ายกับวิธีการชงแบบ Espresso Machine แต่ทำผ่านวิธีการต้มด้วยหม้อเฉพาะ ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที กาแฟที่ได้มักอยู่ในรูปแบบเอสเปรสโซ่ช็อตเข้มข้น

Syphon

ไซฟ่อน เป็นการชงกาแฟโดยใช้หลักการสุญญากาศ (Vacuum Brew) ด้วยอุปกรณ์ที่คล้ายกับหลอดทดลองทางวิทยาศาสตร์ มักใช้เวลาในการสกัดให้ได้กาแฟดำประมาณ 3 – 5 นาที เป็นวิธีที่บาริสต้าต้องมีความรู้ระดับหนึ่ง พบได้เฉพาะคาเฟ่ Slow Bar

Drip Coffee

กาแฟดริป เป็นการชงกาแฟด้วยหลักการแบบหยด (Dripping) นับเป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุดตามคาเฟ่ Slow Bar เนื่องจากได้รับความนิยมสูงและมีความคลาสสิคในตัวเอง การชงรูปแบบนี้มักใช้เวลาประมาณ 3 – 10 นาที

Cold Brew

กาแฟสกัดเย็น เป็นการชงกาแฟที่ใช้หลักการแช่ (Immersion) ด้วยการนำผงกาแฟบดและน้ำเย็นมาแช่ทิ้งไว้ เป็นเวลา 8 – 24 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย มักได้เป็นกาแฟดำที่มีความเข้มข้นสูง

5 อุปกรณ์แนะนำ สำหรับชงกาแฟ Slow Bar

ถึงแม้ร้านกาแฟแนว Slow Bar จะมีมากขึ้นในปัจจุบัน แต่วิธีการชงแบบ Slow Bar นั้น จริง ๆ แล้ว เราก็สามารถชงดื่มได้เองที่บ้านง่าย ๆ หรือสามารถพกพาได้ง่าย สะดวกและน้ำหนักเบา สายออกแคมป์ ชอบการเดินทาง หรือสายกาแฟมือใหม่ก็สามารถซื้ออุปกรณ์มาชงได้ด้วยงบไม่สูงได้

1. อุปกรณ์ชงกาแฟ (Coffee Maker): อุปกรณ์ชงกาแฟ Slow Bar ที่หาซื้อง่ายในราคาย่อมเยา เหมาะกับคนอยากเริ่มต้นและคนอยากชงแนว Slow Bar ได้เองที่บ้าน นั่นก็คือ “ชุดดริปกาแฟ Hario V60 Coffee Maker” เป็นอุปกรณ์ดริปกาแฟ จาก Hario แบรนด์ชั้นนำอันดับต้น ๆ ในวงการกาแฟดริป เซตนี้จะประกอบด้วย ดริปเปอร์พลาสติก V60 และโถรองกาแฟ (Sever) ด้านล่างขนาด 600 ml. มาพร้อมกับกระดาษกรองกาแฟ (Filter Paper) 1 แพ็คและช้อนตวงกาแฟ 1 คัน เป็นเซ็ตที่มีอุปกรณ์จำเป็นครบถ้วน เหมาะกับการชงแบบ Slow Bar เองง่าย ๆ ที่บ้าน

2. เครื่องบดกาแฟ (Coffee Grinder): “Hario Ceremic Coffee Mill Skerton+” เป็นเครื่องบดแบบกะทัดรัต บดกาแฟแบบหมุนมือ (Hand Coffee Grinder) จากแบรนด์ Hario สัญชาติญี่ปุ่น มีความโดดเด่นที่เฟืองบด (Burr) ทำจากวัสดุเซรามิก ช่วยให้เมล็ดกาแฟไม่สูญเสียน้ำมันหรือรสชาติระหว่างการบดเมล็ดกาแฟ ส่งผลให้กาแฟที่นำไปชงจะได้รับรสชาติอย่างเต็มที่ เหมาะแก่การพกพา ใช้งานง่าย มีการออกแบบให้สามารถถอดและเก็บก้านบด สามารถจุกาแฟได้ถึง 100 g. เพื่อพกพานอกสถานที่

3. เครื่องชั่งดิจิทัล (Scale): “V60 Drip Scale” จากแบรนด์ Hario ตาชั่งกาแฟแบบดิจิตอลพร้อมตัวจับเวลาในตัว ที่มาในรูปแบบสีดำ เรียบง่ายสไตล์มินิมอล เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ชั่งตวงที่สำคัญ เพื่อความแม่นยำในการชงกาแฟ เพื่อสกัดให้ได้กาแฟที่มีคุณภาพสูงสุด ตาชั่งสามารถรับน้ำหนักได้อย่างมาตรฐานเพราะสามารถรับน้ำหนักได้ทั้งตัวเครื่องอย่างเสถียร ตัวเครื่องน้ำหนักเบาทำจากวัสดุ ABS Resin ชั่งละเอียดได้ตั้งแต่ 2-2000 g

4. กาต้มน้ำ (Kettle): อีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญของการชงแบบ Slow Bar ทุกประเภท โดยเฉพาะกาแฟดริป “V60 Drip Kettle” เป็นกาต้มน้ำมินิมอลสไตล์จากแบรนด์ Hario ที่ใช้สำหรับการชงแบบ Slow Bar โดยเฉพาะ ด้วยรูปทรงที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การชงกาแฟ ทำให้การหยิบเทและควบคุมทิศทางน้ำทำได้ง่ายกว่า และยังใส่ใจใช้วัสดุไม่นำความร้อนบริเวณที่จับอีกด้วย

5. เมล็ดกาแฟ (Coffee Beans): การชงกาแฟ Slow Bar มีจุดเด่นให้เราสามารถเลือกใช้เมล็ดกาแฟแบบที่ชื่นชอบได้ อยากดื่มรสชาติแบบไหน Taste Note เป็นอย่างไร ก็สามารถปรับแต่งผ่านการเลือกเมล็ดกาแฟได้นั่นเอง “แบรนด์ Aroma” เป็นแบรนด์ที่มีเมล็ดกาแฟให้เลือกอย่างหลากหลาย เช่น

Aroma Victory series = เมล็ดกาแฟที่ได้ดีกรีรางวัล Gold medal (ระดับเหรียญทอง) ในกลุ่มกาแฟ International Espresso จากสถาบัน International Institute of Coffee Tasters (IIAC) ที่จัดประกวดที่ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น การันตีความหอมและคุณภาพเยี่ยม เมล็ดกาแฟเบลนด์พิเศษ คั่วระดับกลาง ด้วยเทคนิคโดดเด่นสไตล์อิตาลี
• เมล็ดกาแฟคั่ว Victory Series – Infinity Blend
• เมล็ดกาแฟคั่ว Victory Series – Contento Blend (Rank 10)
• เมล็ดกาแฟคั่ว Victory Series – Brame Blend (Rank 2)
• เมล็ดกาแฟคั่ว Victory Series – Amabile Blend

Aroma Majesty / Caramellow Blend = เป็นกาแฟคัดสรรพิเศษชั้นดีจากทั่วมุมโลก ด้วยเทคนิคการคั่วเฉพาะของแบรนด์ Aroma ทำให้มีกลิ่นและรสชาติเด่นเป็นเอกลักษณ์ เหมาะกับคอกาแฟรุ่นใหม่ที่ชอบค้นหารสชาติกาแฟสุดพิเศษ
• Caramellow Blend : เมล็ดบราซิล โทนนัตตี้ คาราเมล หอมกลมกล่อม
• Majesty Blend : เมล็ดโคลัมเบีย โทนผลไม้แห้ง อาฟเตอร์เทสหวานติดปลายลิ้น

แม้จะเป็นเพียงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของกาแฟ Slow Bar แต่ก็นับว่าเป็นความพิถีพิถันที่น่าสนใจมากทีเดียว สมกับเป็นกระแสการชงกาแฟที่มาแรงมากในยุคสมัยนี้ เพราะไม่เพียงรสชาติที่ได้จะถูกใจคอกาแฟแบบเต็มที่ แต่กรรมวิธีสุดพิเศษสไตล์ Slow Bar ยังช่วยชูความโดดเด่นให้เครื่องดื่มง่าย ๆ กลายเป็นเหมือนผลงานศิลปะชิ้นโปรดได้อีกด้วย