หนึ่งในเครื่องดื่มที่คนไทยทุกคนรู้จักก็คือ “ชา” ที่สามารถซื้อรับประทานได้แทบทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร และคาเฟ่ต่างๆ ไม่เพียงเท่านั้น รูปแบบเมนูชายังมีให้เลือกมากมายอีกด้วย ซึ่งข้อแตกต่างหนึ่งที่สามารถสังเกตได้ชัดเจนก็คือว่า เป็นชาเขียว หรือชาไทย ว่าแต่ท่านทราบถึงที่มาที่ไปและข้อแตกต่างระหว่างชาสองชนิดนี้ดีแค่ไหน?

มาร่วมไขข้อสงสัยของชาทั้งสองแบบในบทความนี้กับ AROMA 

 

ต้นกำเนิดชาไทย

ชาไทยเป็นเครื่องดื่มที่โด่งดังไปทั่วโลกไม่แพ้ชาเขียวของญี่ปุ่นแม้แต่น้อย และยังได้ติดอันดับ 1 ใน 50 เครื่องดื่มที่อร่อยที่สุดในโลกอีกด้วย ไม่ว่าชาติไหนมาลองดื่มก็เป็นอันต้องประทับใจ และติดใจอยากนำกลับไปทานอยู่เสมอๆ เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะส่วนผสมที่ต่างไป อาทิ เติมน้ำตาล นมข้นหวาน หรือนมสด จึงทำให้ในหนึ่งของวันท่าน อาจจะได้ดื่มชาไทยที่รสชาติและสัมผัสไม่ซ้ำกันเลยก็ได้

คนไทยดื่มชามาอย่างช้านาน ซึ่งคาดว่าเริ่มต้นขึ้นในช่วงของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาจากประเทศจีนเป็นชาที่เข้ามาก่อนชนิดอื่น ในตอนนั้นวิธีการดื่มชาก็จะดูแปลกๆ ไม่น้อย เพราะต้องมีการอมน้ำตาลกรวดไว้ในปากและตามด้วยการดื่มชาร้อน มีรสชาติฝาดๆ มากกว่าขม และจะมีรสติดอยู่ที่โคนลิ้นหลังจากดื่ม และจะมีรสชาติหวานนิดๆ ตามมา อีกทั้งด้วยความ “ใหม่” ของชาในขณะนั้น ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในหมู่คนทั่วไปนัก แต่มักนำไปถวายพระมากกว่านั่นเอง

 

ทำไมชาไทยถึงใส่นม?

สืบเนื่องมาจากตอนที่ชาได้เข้ามา ประเทศไทยก็ได้มีการติดต่อค้าขายกับประเทศอินเดียอยู่เช่นกัน จึงได้รับอิทธิพลในการเติมนมและน้ำตาลลงในชามาด้วย จนเกิดเป็นสี “ส้ม” สะดุดตา และต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการก่อตั้งโรงน้ำแข็งเป็นแห่งแรก ทำให้น้ำแข็งถูกเติมเข้าไปเพื่อเพิ่มความเย็นสดชื่นให้กับเครื่องดื่มต่างๆ รวมถึงชาไทยอีกด้วย จนกระทั่งในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ร้านกาแฟโบราณมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้คนทั่วไปเริ่มรู้จักชาไทยในรูปแบบที่มีการใส่นมและน้ำตาลจนคุ้นชินมาถึงทุกวันนี้

 

ชาไทยที่มาจากชาซีลอน

เมื่อพูดถึงชาซีลอน คงเป็นคำที่เริ่มคุ้นหูหลายๆ คน เพราะชาไทยดั้งเดิมนั้นจะถูกชงมาจากผงชาซีลอน แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง จึงได้มีการเปลี่ยนมาใช้ “ใบเมี่ยง” ใส่กับสีผสมอาหารแทน หรืออาจมีการผสมน้ำลอยดอกส้ม, โป๊ยกั๊ก, เมล็ดมะขามบด หรืออาจเป็นเครื่องเทศชนิดอื่นๆ ที่ในปัจจุบันหาสูตรแบบนี้แทบไม่ได้แล้ว แต่ชาไทยที่มาจากชาซีลอนก็ยังคงเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอยู่เหมือนเดิม

 

ชาเขียวกำเนิดมาจากญี่ปุ่นจริงหรือ?

ที่จริงแล้วชาเขียวหรือ Ryokucha ( 緑茶 ) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนมากกว่า 4,000 ปีมาแล้ว เหตุที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักในด้านการผลิตใบชาคุณภาพ เกิดขึ้นจากนักบวชชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Eichu จากวัด Bonshakuji ในจังหวัดไอจิ ได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆ จากประเทศจีนรวมทั้งได้ศึกษาเรื่องยาสมุนไพรจากจีน จนได้รู้จัก “ชา” แล้วจึงนำกลับมาถวายจักรพรรดิซางะ

เมื่อจักรพรรดิซางะได้ดื่มชาก็ชื่นชอบในรสชาติมาก รวมไปถึงสรรพคุณชาเขียวที่ดีต่อสุขภาพ จนได้มีการชงชาดื่มกันในหมู่ชนชั้นสูงเรื่อยมาจนถึงผู้คนทั่วไป ชาวญี่ปุ่นจึงได้มีการปลูกเพราะต้นชา และคิดค้นกรรมวิธีการผลิตชาเขียวชนิดต่างๆ อาทิ มัทฉะ เซนฉะ เกนไมฉะ เคียวคุโระ ฯลฯ รวมไปถึงพิธีชงชาหรือที่เรียกว่า ที่เรียกว่า ซะโด (Sadou) หรือ ชะโด (Chadou) ที่โด่งดังไปทั่วโลกอีกด้วย 

 

พิธีชงชาที่เป็นวิถีชีวิต

เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น แฝงไปด้วยปรัชญา “อิจิโกะ อิจิเอะ (Ichigo Ichie)” หมายถึง “การได้พบกันครั้งเดียวในชีวิต” มาจากแนวความคิดที่ว่า การที่ได้พบกันในพิธีชงชานั้นอาจเป็นโอกาสเพียงครั้งเดียวในชีวิต แล้วหลังจากนี้อาจไม่ได้พบกันอีกเลยก็ได้ ดังนั้นช่วงเวลาที่ได้พบกันจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ควรปฏิบัติต่อกันอย่างดีที่สุดนั่นเอง

 

ประโยชน์ของชาไทยและชาเขียวญี่ปุ่น

ทั้งชาไทยและชาเขียวจากญี่ปุ่นนั้นมีจุดร่วมเดียวกันก็คือ เป็นผลผลิตที่มีต้นกำเนิดมาจากต้นชา (Camellia Sinensis) ด้วยกันทั้งคู่ (แต่ชาไทยบางแห่งก็มาจากใบเมี่ยง) ฉะนั้นหากพูดถึงประโยชน์ชาเขียวหรือชาไทย ล้วนมีข้อดีที่เหมือนกัน ซึ่งการดื่มชามีข้อดีดังนี้

  • ต้านอนุมูลอิสระในชาประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ทรงพลังหลายชนิด โดยเฉพาะ Epigallocatechin gallate (EGCG) สารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรงมากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า คาเทชินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นต้น การดื่มชาจึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเหล่านี้ได้
  • รักษาสุขภาพช่องปาก สารโพลิฟีนอล (Polyphenols) ในน้ำชาจะช่วยยับยั้งเติบโตของแบคทีเรียในช่องปาก ที่สามารถก่อโรคในช่องปากและทำให้ฟันผุได้ นอกจากนี้ยังมีสารคาเทชินที่ช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรงป้องกันฟันผุ แต่การดื่มชาในปริมาณมากเกินไปก็อาจทำให้ฟันเหลืองได้
  • ช่วยป้องกันเบาหวาน ข้อดีของสารโพลิฟีนอลนั้นยังช่วยป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2 ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสไว้ ส่งผลให้ย่อยแป้งชาลงและช่วยให้ร่างกายเพิ่มขึ้นระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างช้าๆ ไม่เร็วจนเกินไป
  • ช่วยการทำงานของระบบประสาท ชามีสาร L-Theanine ที่ออกฤทธิ์กับระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้สมองปล่อยคลื่นสมองอัลฟา (Alpha Brain Wave) มากขึ้น และลดคลื่นสมองเบต้า (Beta Brain Wave) ทำให้ช่วยผ่อนคลายและลดความเครียด ส่งเสริมให้มีสมาธิมากขึ้น ไม่หงุดหงิดง่าย ลำดับความคิดเป็นระบบระเบียบมากขึ้น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เมื่อท่านได้ทราบที่มาที่ไปของทั้งชาไทยและชาเขียว ก็คงอยากออกไปซื้อหรือชงชาดื่มเอง และคุณก็สามารถหาชาคุณภาพได้จาก AROMA เรามีชาเขียวหลากหลายแบบที่ผ่านการคัดสรรคุณภาพมาให้คุณ ไม่ว่าจะเป็นชาญี่ปุ่นแท้ๆ อย่าง KYOTO MATCHA GREEN TEA, MATCHA GREEN TEA BASE, HŌJICHA GREEN TEA และยังมีชา BASILUR TEA มาจากแหล่งเพาะปลูกชาในประเทศศรีลังกา ที่มีดินภูเขาไฟอุดมสมบูรณ์และมีสรรพคุณเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

ค้นหาชาเขียวคุณภาพเยี่ยมจาก AROMA

WE ARE AROMA

Aroma Group คือผู้นำธุรกิจกาแฟคั่วบด และเครื่องดื่มแบบครบวงจร ที่มีความเชี่ยวชาญ และสั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนานกว่า 60 ปี ธุรกิจของเราครอบคลุมตลอดต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่การคัดสรรและจัดจำหน่ายวัตถุดิบชั้นดี การจำหน่ายเครื่องชงกาแฟ และอุปกรณ์คุณภาพสูง สถาบันสอนพัฒนาธุรกิจร้านกาแฟ รวมถึงธุรกิจร้านกาแฟ จวบจนวันนี้ Aroma Group ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามากมายทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมชั้นนำ ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และร้านเบเกอรี่ ทั้งจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของ Aroma กว่า 2,000 ราย ร้านค้าปลีกกว่า 7,000 ร้านค้า และ Aroma Shop กว่า 30 ร้าน พร้อมเสียงตอบรับที่มากขึ้นทุกวัน

เลือกซื้อชาเขียวได้ที่นี่